How the day
สิ่งที่ควรรู้หลังลาออกจากงาน หรือว่างงาน

สิ่งที่ควรรู้หลังลาออก หรือ ว่างงาน

สิ่งที่ควรรู้หลังลาออกจากงาน หรือว่างงาน

สิ่งที่ควรรู้หลังลาออกจากงาน หรือว่างงาน

          ในปัจจุบันกาลที่การหางานเป็นเรื่องที่ยาก จนทำให้เกิดปัญหาการว่างงานมากมายขึ้น เชื่อว่าหลายคนอาจสติแตก เครียด เพราะการดำเนินชีวิตปัจจุบันนั้นจำเป็นต้องมีสิ่งที่ต้องใช้ต้องจ่ายไปมากมาย และแน่นอนว่าคนเหล่านั้นมักจะหลงลืมที่พึ่งสำคัญหนึ่งที่ของพวกเขาไป..นั้นก็คือสำนักงานประกันสังคม ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่าเขามีกองทุนประกันสังคม ในกรณีที่ลูกจ้างถูกไล่ออก ลาออก หรือว่างงานด้วย

เรามาดูกันว่าถ้าเกิดวันนี้เราต้องถูกไล่ออก หรือเราตัดสินใจลาออกเอง ทำให้กลายเป็นคนว่างงาน เราจะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ อันพึ่งเป็นสิทธิของเราที่จะต้องรับ เพราะหากบางคนไม่ไปแจ้ง ก็จะเสียสิทธิตรงส่วนนี้ไป ซึ่งถือว่าน่าเสียดายอย่างมาก

อย่างแรกเราต้องมาตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขก่อนว่าเราอยู่ในหลักเหล่านั้นไหม

  1. จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในช่วงระยะเวลา 15 เดือนหรือไม่ ก่อนที่เราจะว่างงาน
  2. มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  3. เป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน พร้อมทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้ และต้องไม่ปฎิเสธการฝึกงาน
  4. เราต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องในกรณี ทุจริตต่อหน้าที่ ,ตงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย,ฝ่าฝืนข้อบังคับ ร้ายแรง ,ละทิ้งหน้าที่ 7 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ,ได้รับโทษจำคุก และสุดท้าย ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

ถ้าเราคิดว่าหลักเกณฑ์ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเราเข้าทั้งหมด เข้าสู่ขั้นตอนการต่อมานั้นคือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน โดยเราจะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เว็บ www.empui.doe.go.th โดยที่เราไม่ต้องเงินทางไปที่สำนักงานจัดหางานแต่อย่างใด ภายในนั้นจะรายละเอียดและขั้นตอนดำเนินการอย่างละเอียดเพื่อให้เราเข้าใจและขึ้นทะเบียนในระบบอย่างเรียบร้อย และอย่าลืมที่จะปริ้นหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน และแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) เพื่อนำไปยื่นที่ประกันสังคมต่อไปด้วยล่ะ

สิ่งที่ควรรู้หลังลาออก หรือ ว่างงาน

หลักฐานที่ต้องนำไปในวันที่ยื่นตามกำหนดนัดจากประกันสังคมคือ

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)
  2. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงาน (สปส.6-09) กรณีที่ไม่มีสำเนา (สปส.6-09) ก็สามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้
  3. หนังสือหรือคำสั่งจากนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  4. หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน
  5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อของเราอยู่ และมีข้อความชัดเจน โดยจะเลือกใช้ธนาคารใดก็ได้
  6. บัตรประชาชนหรือบัตรที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

เมื่อเอกสารทุกอย่างครบถ้วนดีแล้วเราก็ไปทำการยื่นที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่เราอยู่ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในวันละเวลาราชการคือ 8:30-16:30 น.โดยผู้ที่ยื่นเรื่องนั้น ต้องเป็นเจ้าของเรื่องเอง ไม่สามารถให้ใครไปทำแทนได้

หลังจากที่เราได้ทำการยื่นเอกสารเรียบร้อย เราจะต้องทำการรายงานตัวการว่างงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ภายในเว็บไซต์ จะแจ้งวันที่นัดรายงานตัวแต่ละเดือน โดยเข้าไปกดหัวข้อรายงานตัว เราสามารถที่จะรายงานัวล่วงหน้าและล่าช้าได้ ไม่ต่ำกว่า 7 วัน

 

สิ่งที่ควรรู้หลังลาออกจากงาน หรือว่างงาน

ภายหลังจากที่รายงานตัวเรียบร้อยแล้ว ทางสำนักงานประกันสังคม จึงจะโอนเงินเข้าบัญชีที่เราได้แนบไปตอนยื่นเอกสาร ไม่เกิน 7-10 วัน

สิ่งที่ควรรู้หลังลาออกจากงาน หรือว่างงาน

มาถึงตรงนี้ทุกคนน่าจะเริ่มเข้าใจขั้นตอนการดำเนินการเรียบร้อยส่วนหนึ่งแล้ว และคงอยากทราบว่าสิทธิประโยชน์ทดแทนที่เราจะได้นั้นมากน้อยขนาดไหน ซึ่งมันแบ่งออกเป็น 2 กรณีหลักๆคือ

  1. กรณีถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงิน 50% ของรายได้ (เงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
  2. กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดเวลา ได้รับเงิน 30% ของรายได้ (เงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000บาท) ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

เชื่อว่าคงมีหลายคนหลังจากที่ว่างงานไปได้สักระยะหนึ่งอาจจะหางานใหม่ทำ ซึ่งถ้าโชคดีก็อาจได้งานต่อเลย หรือหากโชคร้ายก็อาจจะยังคงต้องว่างงานต่อไป เมื่อมาถึงตรงจุดนั้น คงมีหลายคนที่เริ่มคิดจะลองทำธุรกิจเล็ก ๆของตัวเอง และถือทำอาชีพอิสระ เป็นของตนเอง ในกรณีดังกล่าวนี้ เราจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ว่างงานไปเป็นผู้ประกันตนเอง (มาตรา 39 )

พอมาถึงตรงนี้ต้องมีคนเจอในเอกสารหรือในเว็บของประกันสังคมแน่นอนเกี่ยวกับผู้ประกันตนตามมาตรา 33  ซึ่งมันจะมีระบุอยู่ในส่วนของคุณสมบัติของผู้สมัครเป็น ผู้ประกันตนเอง มาตรา 39 ซึ่งจริง ๆแล้ว ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ก็คือ ผู้ที่ประกันตนในรูปแบบบริษัทมาก่อนนั้นเอง หรือก็คือ ถ้าเราทำงานบริษัทมาแล้ว 12 เดือน ส่งเงินสมทบ ที่เราส่งครึ่งหนึ่งกับนายจ้าง ครบ 12 เดือน  เราก็คือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นั้นเอง

ทั้งนี้ ในกรณีที่เราจะเปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนเอง มาตรา 39 เราต้องยื่นเรื่องหลังจากวันที่เราลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือนและต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพของกองทุนประกันสังคมอีกด้วย

                เอกสารที่ใช้ยื่นเพื่อสมัคร มีดังนี้

  1. ใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) หาได้จากในเว็บของทางประกันสังคม หรือไปขอที่ประกันสังคมโดยตรง
  2. บัตรประชาชนหรือบัตรที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

                ในกรณีที่ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 อยากที่จะให้ทางประกันสังคมหักเงินจากทางบัญชีเองโดยไม่ต้องไปยื่นจ่ายตามธนาคาร ก็ให้นำสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ประเภทออมทรัพย์) ไปด้วย

                โดยหลังจากที่เราได้ทำการยื่นเรื่องทั้งหมดเรียบร้อย เราก็จะถือเป็นผู้ประกันตนเองตามมาตรา 39 และต้องทำการจ่ายเงินสมทบนำส่งประกันสังคมในทุกเดือน เดือนละ 432 บาท ที่ธนาคารดังต่อไปนี้ โดยเลือกธนาคารใดก็ได้ คือ

  1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  6. .ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

                โดยทั้ง 6 ธนาคารนี้ จะไม่มีการเสียค่าธรรมเนียมใด ๆเพิ่มเติม

                หากแต่ในกรณีที่ค้างจ่ายเกิน 2 เดือนขึ้นไป ผู้ประกันตนเองมาตรา 39 จะต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวน 8.64 บาท รวมเป็นเงิน 440.64 บาท ซึ่งในกรณีนี้อาจเพิ่มขึ้นได้ หากผู้ประกันตนเองค้างเกิน 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งผู้เขียนยังไม่เคยถึงขั้นนั้น และในกรณีนี้เอง ท่านผู้ประกันตนเองต้องไปจ่ายเงินค่าปรับและเงินสมทบ ณ หน่วยงานประกันสังคมด้วยตนเอง เว้นแต่เพียงเดือนปัจจุบันที่อาจต้องไปจ่ายที่ธนาคาร เพราะทางประกันสังคม รับจ่ายเพียงเดือนที่ค้างเท่านั้น

                ผู้เขียนหวังว่าบทความดังกล่าวข้างตนนั้นจะมอบประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่านที่เป็นผู้ว่างงาน หรือกำลังจะเป็น รวมไปถึงผู้ที่จะไปเป็นผู้ประกันตนเองตามมาตรา 39 ไม่มากก็น้อย และต้องขออภัย หากมีข้อมูลได้ไม่ครบถ้วนหรือไม่อัพเดทมากพอ ผู้อ่านสามารถเข้าไปหาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของท่านที่เป็นมาตรา 33 และ 39 /ลูกจ้างได้จาก ลิงค์ดังต่อไปนี้ http://lb.mol.go.th/download/sso/m33m39E.pdf ขอให้ทุกท่านโชคดี

สิ่งที่ควรรู้หลังลาออกจากงาน หรือว่างงาน

ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากเว็บไซค์

  1. https://www.sso.go.th/wpr/
  2. https://pantip.com/topic/31840398
  3. https://pantip.com/topic/37849132

อ่านเรื่องราวเกี่ยวข้องได้ที่   วิธีเตรียมตัวทำงาน

 

Facebook Comments